วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม 2556
       ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ




วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2556
2.6 บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรม อารมณ์ หรือสมาธิสั้น หมายถึง เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ทางอารมณ์หรือเด็กสมาธิสั้น ไม่ใช่เด็กพิการหรือเด็กที่มีความบกพร่อง แต่จัดเป็นกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา สถานศึกษาต้องรับและจัดบริการการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของแต่ละบุคคล เช่นเดียวกับเด็กพิการแต่ละประเภท เด็กกลุ่มดังกล่าวอาจมีอาการหรือพฤติกรรมที่แสดงออกไม่ชัดเจน ต้องอาศัยการสังเกต การสำรวจอย่างเป็นระบบ และมีการวัดและประเมินผลทางจิตวิทยา หรือการวินิจฉัยทางการแพทย์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
        1 เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม หมายถึง เด็กที่แสดงพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากเด็กทั่วไป และพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนนี้ส่งผลกระทบต่ออาการเรียนรู้ของเด็กและผู้อื่น เป็น ผลมาจากความขัดแย้งของเด็กกับสภาพแวดล้อมหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวเด็กเอง ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ ขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือผู้เกี่ยวข้อง มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดทางอารมณ์โดยแสดงออกทางร่างกาย ซึ่งบางคนมีความบกพร่องซ้ำซ้อนอย่างเด่นชัด อีกทั้งเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ซึ่งมีการแสดงออกหลายลักษณะ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
           1 กลุ่มความประพฤติผิดปกติ มีลักษณะก้าวร้าว ชอบทะเลาะ ทำร้าย ผู้อื่น ขาดความรับผิดชอบ ไม่เชื่อฟัง ต่อต้าน ชอบออกคำสั่ง ตะโกนเสียงดัง ชอบขโมย พูดจาหยาบคาย
           2 กลุ่มบุคลิกผิดปกติ เป็นกลุ่มที่มีบุคลิกภาพเก็บตัว แยกตัวจากสังคม วิตกกังวล ร้องไห้ กระดากอาย ขาดความมั่นใจ ดึงผม กัดเล็บ สนใจตนเอง ไม่พูด เงียบเฉย เสียใจง่าย มองโลกแง่ร้าย อิจฉา
           3 กลุ่มขาดวุฒิภาวะ เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัย สมาธิสั้น ไม่มีความกระตือรือร้น การฝันกลางวัน ไม่สนใจสิ่งรอบตัว ชอบเล่นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า งุ่มง่าม เฉื่อยชา ไม่รับผิดชอบงาน สกปรก
           4 กลุ่มที่มีปัญหาทางสังคม ลักษณะที่พบ คือ คบเพื่อนไม่ดี ชอบหนี โรงเรียน การลักขโมย ชอบเที่ยวกลางคืน หนีออกจากบ้าน ชอบคบเพื่อนเกเร ต่อต้านผู้มีอำนาจ  
       2 เด็กสมาธิสั้น หมายถึง เด็กที่มีภาวะสมาธิบกพร่องและมีพฤติกรรมอยู่ไม่สุขร่วมด้วย เด็กที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรมแสดงออกซ้ำ ๆ จนเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก มีพฤติกรม ที่ไม่เหมาะสมกับอายุ หรือระดับพัฒนาการในเรื่องของการขาดสมาธิ ความหุนหันพลันแล่น ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ และ/หรือซุกซนไม่อยู่นิ่ง ไม่สามารถให้ความสนใจต่อการเรียนได้อย่างจริงจังและนานเพียงพอ โดยจะปรากฏอาการก่อนอายุ 7 ปี ซึ่งสรุปเป็นลักษณะใหญ่ ๆ 3 ลักษณะ คือ
           1 สมาธิบกพร่อง เสียสมาธิง่าย ให้ความสนใจกิจกรรมได้ไม่นาน วอกแวกง่าย จึงทำงานไม่เสร็จ ต้องคอบกระตุ้น ควบคุม จึงทำได้ตามเวลาที่ต้องการ มีปัญหาในการปฏิบัติตามคำสั่ง ที่ซ้ำซ้อน ต้องบอกซ้ำหลายครั้ง ทำของหาย หรือหลงลืมอยู่เสมอ
           2 ความผลีผลาม เสียสมาธิง่าย ให้ความสนใจกิจกรรมได้ไม่แน่นอน มีความว่องไวผิดปกติ ขาดความระมัดระวัง บางคนซุกซนมาก เลอะเทอะ ซุ่มซ่าม ไม่เรียบร้อย
           3 พฤติกรรมอยู่ไม่สุข นั่งนิ่ง ๆ นานไม่ได้ จะขยุกขยิกตลอดเวลา พร้อมที่จะลุกออกจากที่ ไม่สนใจเวลาครูสอน เพราะทำอย่างอื่นไปด้วย แต่เมื่อถูกซักถามอาจพบว่าเด็กฟังและเข้าใจ เล่นเงียบ ๆ ไม่ได้ เวลาไปไหนมักยื่นมือเท้าไปจับ เขี่ย เตะ เกาะ หรือปัดสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบข้างทาง มีความยากลำบากในการคิดรอบคอบ ไม่ยอมเข้าคิว พูดมากผิดปกติ มักพูดสอดแทรกหรือรบกวนผู้อื่น
ลักษณะทางอารมณ์ที่พบ คือ อารมณ์แปรปรวนง่าย ๆ ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ เมื่อเกิดความคับข้องใจ ขาดความอดทน อดกลั้น ใจร้อน โมโหร้าย เรียกร้องความสนใจสูง ไม่ค่อยอยู่ในกฎกติกา
       สาเหตุของปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
           จากการศึกษาพบว่าปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กเกิดจากสาเหตุสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ สาเหตุทางชีววิทยา สาเหตุจากความสัมพันธ์เชิงลบในครอบครัวและอิทธิพลของสังคม และสาเหตุจากประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสาเหตุใดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ ในบางกรณี พฤติกรรมที่เป็นปัญหาเกิดจากหลายสาเหตุผสมผสานกัน ปัจจุบันนี้เชื่อว่า สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กเกิดจากสาเหตุมากกว่า 1 สาเหตุ

2.7 บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึง คนที่มีความบกพร่องในกระบวนการพื้นฐานทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจ หรือการใช้ภาษา อาจเป็นภาษาพูดและ/หรือภาษาเขียน ซึ่งจะมีผลทำให้มีปัญหาในการฟัง การพูด การคิด การอ่าน การเขียน การสะกด หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บ การปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป ซึ่งทำให้มีปัญหาในการอ่าน และปัญหาในการเข้าใจภาษา ทั้งนี้ ไม่รวมคนที่มีปัญหาทางการเรียนเนื่องจากสภาพบกพร่อง ทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว ปัญญาอ่อน ปัญหาทางอารมณ์ หรือความด้อยโอกาสเนื่องจากสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมหรือเศรษฐกิจ
      สาเหตุของเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ของเด็กค่อนข้างซับซ้อน พอสรุปดังนี้
          1. เกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย เช่นทางการทำงานผิดปกติของต่อมต่าง ๆ หรือ ระบบการทำงานของประสาทส่วนกลาง เป็นต้น
          2. ปัญหาอันเนื่องมาจากสติปัญญาความสามารถ การปรับตัวทางอารมณ์ และการปรับตัวทางสังคมของเด็ก
          3. ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพของโรงเรียน หลักสูตร วิธีสอน อุปสรรคจากวัฒนธรรม และภาษา ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ ก่อนเข้าโรงเรียน
      ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
          1. มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงปกติ
          2. สติปัญญาปกติ
          3. การเคลื่อนไหวของกล้าเนื้อใหญ่ ไม่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเล็ก
          4. ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย สนใจระยะสั้น บางคนสนใจเกินปกติ
          5. อยู่ไม่นิ่ง
          6. ความจำไม่ดี

2.8 บุคคลออทิสติก หมายถึง บุคคลที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อความหมาย พฤติกรรม อารมณ์ และจินตนาการ ซึ่งมีสาเหตุเนื่องมากจากการทำงานในหน้าที่บางส่วนของสมองที่ผิดปกติไป และความผิดปกตินี้พบได้ก่อนวัย 30 เดือน
      ลักษณะของบุคคลออทิสติก
          1. มีความบกพร่องทางปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ไม่มองสบตาบุคคลอื่น ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้า กิริยาหรือท่าทาง เล่นกับเพื่อนไม่เป็น ไม่สนใจที่จะทำงานร่วมกับใคร ไม่เข้าใจพฤติกรรมของคนอื่น
          2. มีความบกพร่องด้านการสื่อสาร ทั้งด้านการใช้ภาษาพูด ความเข้าใจภาษา การแสดงกริยาสื่อความหมายซึ่งมีความบกพร่องหลายระดับตั้งแต่ไม่สามารถพูดจาสื่อความหมายได้เลย หรือบางคนพูดได้แต่ไม่สามารถสนทนาโต้ตอบกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ บางคนพูดแบบเสียงสะท้อนพูดเลียนแบบ ทวนคำพูด บางคนจะพูดซ้ำแต่ในเรื่องที่ตนเองสนใจ มีการใช้สรรพนามสลับที่ ระดับเสียงพูดอาจมีความผิดปกติ บางคนพูดโทนเสียงเดียว บางคนพูดเพ้อเจ้อเรื่อยเปื่อย
          3. มีความบกพร่องด้านพฤติกรรมและอารมณ์ บางคนมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ ผิดปกติ เช่น เล่นมือ โบกมือไปมา หรือหมุนตัวไปรอบ ๆ เดินเขย่งปลายเท้า ท่าทางเดินงุ่มง่าม ยึดติดไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง การแสดงออกทางอารมณ์ไม่เหมาะสมกับวัย บางคนร้องไห้หรือหัวเราะโดยไม่มีเหตุผล บางคนมีอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
          4. มีความบกพร่องด้านการรับรู้ทางประสาทสัมผัส การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ การรับรู้ทางการเห็น การตอบสนองต่อการฟัง การสัมผัส การรับกลิ่นและรสมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล บางคนชอบมองแสง บางคนตอบสนองต่อเสียงผิดปกติ รับเสียงบางเสียงไม่ได้ ด้านการรับสัมผัสกลิ่นและรส บางคนตอบสนองช้าหรือไวหรือแปลกกว่าปกติ เช่น ดมของเล่น
          5. มีความบกพร่องด้านการใช้อวัยวะต่าง ๆ อย่างไม่ประสานสัมพันธ์ การใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงการประสานสัมพันธ์ของกลไกกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็กมีความบกพร่องบางคนเคลื่อนไหวงุ่มง่ามผิดปกต ไม่คล่องแคล่ว ท่าทางเดินหรือวิ่งแปลก ๆ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับไม่ประสานกัน
          6. มีความบกพร่องด้านการจินตนาการ ไม่สามารถแยกเรื่องจริงเรื่องสมมุติ หรือประยุกต์วิธีการจากเหตุการณ์หนึ่งไปยังอีกเหตุการณ์หนึ่งได้ เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ยาก เล่นสมมุติไม่เป็น จัดระบบความคิด ลำดับความสำคัญก่อนหลัง คิดจินตนาการจากภาษาได้ยาก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียน
          7. มีความบกพร่องด้านสมาธิ มีความสนใจที่สั้น วอกแวกง่าย
      สาเหตุของภาวะออทิสติก
          ได้มีการค้นหาสาเหตุของออทิสติกมานาน แต่เดิมเชื่อว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ซึ่งเป็นผลมาจากบุคลิกของแม่ซงเย็นชาไม่ใกล้ชิดและไม่ให้ความอบอุ่นแก่เด็ก ทำให้เด็กไม่พัฒนาความผูกพันทางอารมณ์กับบุคคลรอบข้าง แต่ปัจจุบันมีหลักฐานสนับสนุนให้เชื่อว่าออทิสติกมีสาเหตุมาจาก เด็กมีพยาธิสภาพที่ระบบประสาท ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีผู้ใดเจาะจงว่าเด็กเกิดพยาธิสภาพที่ประสาทส่วนใด ส่วนความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงดูไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่เป็นสาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เด็กมีอาการมากขึ้น หรือในทางกลับกันกลับช่วยให้อาการของเด็กดีขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้าใจในการช่วยเหลือเด็กของทุก ๆ คนในครอบครัว ปัจจัยที่บอกถึงความสัมพันธ์กันระหว่างออทิสติกกับพยาธิสภาพทางสมอง เท่าที่มีผู้รายงานไว้สรุปได้ดังนี้ (พิมพ์พรรณ วรชุตินธร. 2545: 335)
           1. มารดาของเด็กออทิสติก มประวัติของอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และขณะคลอดมากกว่าร้อยละ 50
           2. ประมาณร้อยละ 50 ของเด็กออทิสติกมีความผิดปกติของระบบประสาท ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 60-85 มีคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ และร้อยละ 25-30 เมื่อเข้าวัยรุ่นจะมีอาการของ โรคลมชัก
           3. อาการออทิสติกเกิดร่วมกับโรคบางโรค เช่น ฟินิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) หัดเยอรมัน สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับอักเสบ เป็นต้น
           4. มีหลักฐานแสดงว่าเด็กออทิสติกมีส่วนเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เนื่องจากพบออทิสติกในคู่แฝดจากไข่ใบเดียวกันมากกว่าคู่แฝดจากไข่คนละใบ และพบว่ามีอัตราส่วนเด็กออทิสติกที่เป็นพี่น้องท้องเดียวกันถึง 1 ใน 50 ส่วนในเด็กทั่วไปจะพบอัตราส่วน 1 ต่อ 2500
           5. เด็กออทิสติกมีความผิดปกติของสารบางอย่างที่เป็นตัวนำทางระบบประสาทสูงขึ้นมาก เช่น โรโตนิน และโดพามีน
           6. เด็กออทิสติกมีความผิดปกติในระบบภูมิต้านทาน โดยพบว่าภูมิต้านทานของเด็กกลับไปทำลายระบบประสาทของตนเอง
           7. แพทย์ทางระบบประสาทและพยาธิวิทยาพบว่า สมองของเด็กออทิสติกมีเซลล์สมอง ผิดปกติอยู่ 2 แห่ง คือ บริเวณที่ควบคุมด้านความจำ ด้านอารมณ์และแรงจูงใจ ส่วนอีกบริเวณหนึ่งจะควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ของร่างกาย ซึ่งลักษณะของเซลล์สมองทั้งสองแห่ง จะเป็นเซลล์ไม่พัฒนา เทียบความสามารถได้เท่ากับเด็กอายุเพียง 38 สัปดาห์ขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา
           อย่างไรก็ตาม ความผิดปกติแบบออทิสติกนี้ ยังไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุด้วยหลักการทางประสาทวิทยาได้ทุกราย ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีผู้ให้สมมุติฐานว่า สาเหตุของเด็กออทิสติก น่าที่จะมาจาก มีพยาธิสภาพทั้งทางด้านสรีรวิทยาและปัจจัยทางสังคมร่วมกัน

2.9 บุคคลพิการซ้อน หมายถึง คนที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภทในบุคคลเดียวกัน เช่น คนปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เป็นต้น
       เกณฑ์การตัดสิน
           เด็กที่จะเข้ารับการศึกษาในโปรแกรมนี้ต้องมีลักษณะดังนี้
               1. จะต้องตาบอด ตามนิยามของเด็กตาบอดที่กำหนดขึ้นโดยจักษุแพทย์สมาคม
               2. จะต้องหูหนวก ตามนิยามของเด็กหูหนวกที่กำหนดโดยสมาคมแพทย์โสต ศอ นาสิก
               3. เด็กจะไม่ได้รับประโยชน์จากโปรแกรมการศึกษาที่จัดให้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งโดยเฉพาะ