วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556
       วันนี้อาจารย์ได้สอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว
2.4 เด็กที่มีคสามบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)
       - เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
       - อวัยวะส่วนใดส่วนหน่งหายไป
       - มีปัญหาทางระบบประสาท
       - มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
         จำแนกเป็น 2 ประเภท
              1.) อาการบกพร่องทางร่างกาย
              2.) อาการบกพร่องทางสุขภาพ
         1.) อาการบกพร่องทางร่างกาย
              1.1 ซี.พี. (Cerebal Palsy)
                    - การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลจากสมองกำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหล้งคลอด
                    - การเคลื่อนไหว การพูด พัมนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องเกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน
         สาเหตุที่ทำให้เกิดความพิการทางร่างกาย
              1. ความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด ส่วนใหญ่เกิดจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์เด็กมักจะมีความพิการซ้อน (Multiple Handicaps) ความผิดปกติดังกล่าวอาจเป็นเฉพาะที่หรือทั่วไปของร่างกาย อาจจะผิดปกติเพียงเล็กน้อย ๆ หรือรุนแรง บางส่วนของร่างกายอาจเล็กกว่าปกติ บางส่วนอาจไม่สมประกอบ บางส่วนโตกว่าปกติ บางส่วนมีจำนวนเพิ่ม ข้อต่ออาจหายไปหรือไม่พัฒนาเต็มที่ หรือหลุดจากกระเปราะ
              2. ความผิดปกติอันมีสาเหตุมาจากโรค เช่น โปลิโอ การอักเสบของสมอง เนื่องจากเชื้อ ไวรัส พัฒนาการช้าเนื่องจากขาดอาหาร
              3. ความผิดปกติอันมีสาเหตุมาจากภัยอันตราย เช่น เมล็ดผลไม้บางชนิด หรือของเล่น หลุดเข้าไปในจมูกหรือหลอดลม เด็กหายใจไม่สะดวก ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้สมองพิการได้ นอกจากนี้อุบัติเหตุต่าง ๆ ก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติทางด้านร่างกายได้ เช่น อุบัติ-เหตุบนท้องถนน ของมีคม แม่น้ำลำคลอง ยา สารเคมี
        ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไปของเด็กพิการทางร่างกาย
              1. การขาดหายของแขนขา (Amputations) หมายถึง การสูญเสียแขนขาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของแขนขา อาจเป็นมาแต่กำเนิด หรือเป็นขึ้นภายหลังเนื่องจากอุบัติเหตุโดยทั่วไปหากเป็นมาแต่กำเนิดปลายส่วนที่เหลือมักจะแข็งแรง ทำให้สามารถใส่แขนหรือขาเทียมได้โดยไม่ยาก และเริ่มใส่แต่อายุยังน้อย อาจจะต้องผ่าตัดตรงปลายเพื่อดัดแปลงให้ใส่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากกระดูกเจริญเติบโตอยู่ตลอดเวลา และหากบริเวณส่วนปลายที่ขาดมีเนื้อเยื่อหนาล้อมรอบเล็กน้อยจะผ่าตัดได้ง่าย ๆ เพื่อเอาเนื้อหนาบริเวณนั้นทิ้งไป แต่ถ้าหากเป็นมากก็อาจต้องตัดส่วนที่เหลือของแขนขาออกไป
การขาดหายเนื่องจากการบาดเจ็บ ซึ่งจำเป็นต้องตัดออกเนื่องจากเจ็บปวด การเสียเลือดมาหล่อเลี้ยงเนื้องอก หรือการติดเชื้อเป็นเวลานานควบคุมไม่ได โดยหลักการทั่วไปควรใส่แขนขาเทียมทันทีหลังจากการผ่าตัด
              2. ความผิดปกติของรูปร่างของร่างกาย พบได้ทั่วไปบริเวณส่วน แขน ขา หรือลำตัว มีสาเหตุเป็นมาแต่กำเนิด หรือเกิดจากการอ่อนแรงหรือแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ มีผลทำให้ร่างกายผิดปกตินอกจากนี้การเคลื่อนไหวหรือการใช้แขนขาอย่างไม่ถูกต้อง จะมีผลให้เกิดความผิดปกติในรูปร่างของร่างกายยิ่งขึ้น ถ้าพบว่าเด็กมีความผิดปกติจากสาเหตุใด ควรปรึกษาแพทย์ หรือกายภาพบำบัดเพื่อรับการแก้ไขและคำแนะนำที่ถูกต้อง
              3. ประเภทที่สองนี้ ถ้าสาเหตุจากระบบประสาทจะทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก เพราะกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงเป็นเด็ก C.P. จะมีอาการ ตัวแอ่น แขน ขาเกร็ง เคลื่อนไหวไม่ได้
              4. เด็กที่แม่ได้รับสารพิษ หรือออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่ทัน หรือโรคสมองอักเสบเยื่อสมองอักเสบโดยทั่วไปเด็กจะมีความพิการซ้อนหลายอย่าง ได้แก่
                  - ความบกพร่องทางสติปัญญา
                  - ความบกพร่องในการสื่อสารและการใช้ภาษา
                  - ความผิดปกติทางการเห็น
                  - ความผิดปกติทางการได้ยิน
                  - ความผิดปกติในการรับรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
2.5 บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง คนที่มีความบกพร่องในเรื่องของการออกเสียงพูด เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติ หรือคนที่มีความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจและหรือการใช้ภาษาพูด การเขียน และหรือระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจเกี่ยวกับรูปแบบของภาษา เนื้อหาของภาษาและหน้าที่ของภาษา
       สาเหตุของเด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษาเนื่องมาจาก
       1. สาเหตุของการพูดผิดปกติ
           1.1 สาเหตุความผิดปกติหรือบกพร่องของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดและการรับฟังเสียง เช่น หูไม่ได้ยิน มีเนื้องอกที่สายเสียง เพดานโหว่ ฯลฯ
           1.2 สาเหตุจากการเรียนรู้การพูดมาอย่างผิด ๆ
       2. สาเหตุจากอวัยวะในการพูดผิดปกติ
           2.1 โครงสร้างของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดผิดปกติ (Structural Disorders) ได้แก่ ปากแหว่ง เพดานโหว่ ลิ้นไก่สั้น ส่วนมากมักจะเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าปากแหว่งอย่างเดียว ผ่าตัดแก้ไขแล้วจะไม่มีปัญหาทางการพูด แต่ถ้ามีเพดานโหว่ผ่าตัดแล้วยังไม่สมบูรณ์พอ
จะทำให้มีเสียงก้องอยู่ในโพรงจมูก ต้องได้รับการตกแต่งจนเพดานปิดเรียบร้อย แล้วรับการฝึกพูด จะได้ฝึกการใช้อวัยวะที่ผิดให้ถูกต้อง เวลาพูดเสียงจะชัดเจน
           2.2 ระบบประสาทผิดปกติ (Neurological Disorders) เป็นประสาทส่วนที่ควบคุมการพูด ทำให้การสื่อความหมายผิดไปหลายอย่าง เช่น พวกป่วยอะเพเชีย จะผิดปกติเกี่ยวกับทักษะทางภาษาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลาย ๆ อย่าง เช่นฟังไม่เข้าใจ พูดสื่อภาษาไม่ได้ หรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดทำงานผิดปกติ การพูดก็จะ ผิดปกติไปด้วย
           2.3 หูพิการ (Hearing Impairment) ไม่สามารถรับฟังคำพูดของผู้อื่นได้ พูดไม่ชัดเสียงผิดปกติ พัฒนาการทางภาษาช้า
           2.4 สติปัญญาไม่ดี (Mental Retardation) ทำให้การพัฒนาทางภาษาช้ากว่าอายุถ้าสติปัญญาต่ำมากภาษาและการพูดจะไม่พัฒนาเลย
           2.5 การเรียนรู้ภาษามาอย่างผิด ๆ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น