เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ภาษาอังกฤษว่า "Childer with special needs"
ทางการแพทย์ได้เรียก เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ว่า เด็กพิการ หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องร่างกาย
ทางการศึกษาได้ให้ความหมายของ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ว่า เด็กที่มีความต้องการการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่้ใช้ แลพการปรพเมินผล
สรุป เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง
- เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ แลพการสอนตามปกติ
- มีสาเหตุมาจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาน สติปัญญา และอารมณ์(สังคมไม่ค่อยเกิด)
- จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น
ช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู
- จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
All Chaildren can Learn แปลว่า เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
แบ่งกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา
2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางการบกพร่อง
ทางกระทรวงการศึกษา แบ่งเป็น 9 ประเภท
2.1 เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา
1) เด็กเรียนรู้ช้า
- สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
- เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าปกติ
- ขาดทักษะในการเรียนรู้
- มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
- มีระดับสติปัญญา(IQ) ต่ำกว่า 71-90
สาเหตุ
- ปัจจัยภายนอก
- สภาพแวดล้อม
- เศรษฐกิจ
- การเสริมวร้างประสบการ์ให้แก่เด็ก
- การเช้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
- วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
- ปัจจัยภายใน
- โครโมโซม
- พัฒนาการช้า
- การเจ็บป่วย
2) เด็กปัญญาอ่อน
- เด็กที่มีภาวะหยุดชะงัก
- แสดงลักษณะเฉพาะ คือ สติปัญญาต่ำ
- มีความสามารถทางการเรียนรู้น้อย
- มีความจำกัดทางด้านทักษะ
- มีพัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
เด็กปัญญาอ่ออน แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. สติปัญญา (IQ) ต่ำกว่า 20 ปัญญาอ่อนหนักมาก และต้องได้รับการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น เรียกว่า Custodial Mental Retardetion (C.M.R.)
2. สติปัญญา (IQ) 20-34 ปัญญาอ่อนหนัก ไม่สามารถเรียนได้ ต้องได้รับการฝึกหัดช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เรียกว่า Custodial Mental Retardetion (C.M.R.)
3. สติปัญญา (IQ) 35-49 ปัญญาอ่อนปานกลาง สามารถฝึกอบรมและทักษะเบื้องต้นง่ายๆได้ สามารถฝึกอาชีพได้ เรียกว่า Trainable Mental Retardetion (T.M.R.)
4. สติปัญญา (IQ) 50-70 ปัญญาอ่อนน้อย สามารถเรียนระดับประถมได้ เรียกว่า Educationable Mental Retardetion (E.M.R.)
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
- ไม่พูด/พูดไม่สมวัย
- ทำงานช้า
- ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
- ความคิดและอารมณืเปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
- รุนแรงไม่มีเหตุผล
- อวัยวะบางส่วนมีลักษณะผืดปกติ
- ช่วยเหลือตนเองได้น้อยกว่าเด็กปกติ
2.2 บุคคลที่ความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง บุคคลคนที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับรุนแรงจนถึงระดับน้อย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1 คนหูหนวก หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟังก็ตาม โดยทั่วไปหากตรวจการได้ยินจะสูญเสียการได้ยินประมาณ 90 เดซิเบลขึ้นไป (เดซิเบล เป็นหน่วยวัดความดังของเสียง หมายถึง เมื่อเปรียบเทียบระดับเริ่มได้ยินเสียงของเด็กปกติ เมื่อเสียงดังไม่เกิน 25 เดซิเบล คนหูหนวกจะเริ่มได้ยินเสียงดังมากกว่า 90 เดซิเบล)
2 คนหูตึง หมายถึง คนที่มีการได้ยินเหลืออยู่พอเพียงที่จะรับข้อมูลผ่านทางการ ได้ยิน โดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟัง และหากตรวจการได้ยินจะพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า 90 เดซิเบล ลงมาจนถึง 26 เดซิเบล คือ เมื่อเปรียบเทียบระดับเริ่มได้ยินเสียงของเด็กปกติ เมื่อเสียงดังไม่เกิน 25 เดซิเบล เด็กหูตึงจะเริ่มได้ยินเสียงที่ดังมากกว่า 26 เดซิเบลขึ้นไปจนถึง 90 เดซิเบล อาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ดังนี้ 1 ตึงเล็กน้อย (26-40 เดซิเบล
2 ตึงปานกลาง (41-55 เดซิเบล)
3 ตึงมาก (56-70 เดซิเบล)
4 ตึงรุนแรง (71-90 เดซิเบล)
สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยิน
ความบกพร่องทางการได้ยินอาจเนื่องมากจากหลายสาเหตุ ที่สำคัญไดแก่ (วารี ถิระจิตร. 2537 : 45)
1. หูหนวกก่อนคลอด (Congenital Deafness) หมายถึงทารกที่จะเกิดมานั้นมีความพิการของอวัยวะรับเสียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เมื่อคลอดออกมาแล้วก็ปรากฏอาการหูหนวกแต่แรกเกิดทีเดียว ซึ่งอาจมีสาเหตุ 2 ประการ คือ
1.1 หูหนวกตามกรรมพันธุ์ (Hereditary Deafness) เป็นอาการหูหนวกของทารกที่มีความพิการสืบพันธุ์จากบิดาหรือมารดา หรือบรรพบุรุษ เช่น พ่อแม่หูหนวก ลูกอาจหูหนวกหรือหลานอาจหูหนวก
1.2. หูหนวกที่ไม่ใช่กรรมพันธุ์ (Sporadic Deafness) มีหลายสาเหตุ คือ
1.2.1 หูหนวกระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ขณะมารดาตั้งครรภ์ บังเอิญหกล้ม ถูกกระทบกระแทกอย่างแรง ทารกที่อยู่ในครรภ์และกำลังเจริญเติบโต อาจถูกบีบ ถูกกด หรือถูกกระแทก หรือเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่สะดวก ทำให้อวัยวะรับการได้ยินพิการได้ เมื่อทารกคลอดออกมาก็มีอาการหูหนวกแต่กำเนิดติดออกมาด้วย
1.2.2 หูหนวกจากการคลอด คือศีรษะถูกบีบขณะคลอด เนื่องจากกระดูกเชิงกรานเล็ก หรือคีมจับศีรษะทารกไม่ถูกที่ เป็นต้น
1.2.3 หูหนวกจากการเติบโตของอวัยวะหูผิดปกติ ทารกที่เกิดมาอาจไม่มีใบหู ไม่มีรูหู มีรูหูข้างเดียว เมื่อมีความพิการเกิดขึ้นกับอวัยวะหูส่วนหนึ่งส่วนใด ทำให้หูหนวกได้เหมือนกัน
1.2.4 หูหนวกจากพิษยาต่อมารดาขณะตั้งครรภ์ ระหว่างที่มารดาตั้งครรภ์อาจเจ็บป่วย และจำเป็นต้องใช้ยางบางอย่างรักษา ยานั้นอาจเป็นพิษต่ออวัยวะหูของทารกในครรภ์ได้ เช่น ยาควินิน ยาแอสไพริน ยาสเตร็ปโตมัยซิน และยาเพนนิซิลิน เป็นต้น หญิงมีครรภ์ควรระมัดระวังในการใช้ยาให้มากที่สุด เพราะยาสามารถซึมผ่านรก ไปยังทารกในครรภ์ได้โดยง่าย อนตรายที่ร้ายแรงมากในหญิงมีครรภ์ การรับประทานยาที่มีผลทำให้ทารกในครรภ์พิการ โดยเฉพาะระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และใกล้คลอด
1.2.5 หูหนวกจากโรคติดต่อขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน ทารกที่ได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้จากมารดาขณะที่อยู่ในครรภ์ ใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจมีผลทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายในหลายระบบ ได้แก่ ความผิดปกติที่หัวใจ เกิดต้อกระจกโดยกำเนิด ร่างกาย และศีรษะของทารกเล็กกว่าปกติ สมองไม่เจริญเติบโต ทำให้หูหนวกได้
2. หูหนวกหลังคลอด (Acquired Deafness) หมายถึงทารกที่เกิด มีอวัยวะและประสาทหูปกติ แต่ต่อมาภายหลังปรากฏว่าหูหนวกขึ้น เราเรียกหูหนวกหลังคลอด โอกาสที่จะทำให้หูหนวกจึงมีมากมายหลายอย่าง สามารถแยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้คือ
2.1 หูหนวกจากโรคระบบประสาท เช่น ป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
2.2 หูหนวกจากโรคติดต่อ เช่น ภายหลังจากการป่วยด้วยโรคหัด ไข้หวัดใหญ่ คางทูม หัดเยอรมัน อาจมีอาการหูหนวกได้
2.3 หูหนวกร่วมกับโรคต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมพิตูอิตารี่ ทำให้มีอาการหูหนวกร่วมด้วย
2.4 หูหนวกจากพิษยาและสารเคมี เมื่อผู้ป่วยไดรับยาที่เป็นพิษต่ออวัยวะหูส่วนใน และประสาทหู เช่น ควินิน ยาสเตร็บโตมัยซิน และยาคานามัยซิน เป็นต้น
2.5 หูหนวกจากโรคหู คอ จมูก อวัยวะของหู คอ จมูก ติดต่อถึงกัน และอยู่ใกล้เคียงกันมาก เมื่ออวัยวะดังกล่าวเกิดโรค มักกระทบกระเทือนถึงกันและกัน จะทำให้หูหนวกได้
2.6 หูหนวกจากภยันอันตราย ต่ออวัยวะหู และประสาทหู เช่น การตกเปล ตกบันได ตกจากที่สูง นอกจากศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนแล้วกระดูกขมับแตกร้าว หรือถูกตบที่หูอย่างรุนแรง ทำให้หูหนวกได้ นอกจากนั้นเสียงดังต่าง ๆ เช่น เสียงฟ้าผ่า เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงเครื่องบิน เครื่องยนต์ เครื่องจักรในโรงงาน ถ้าหากได้รับการรบกวนอยู่เสมอ และเป็นเวลานาน จะทำให้หูพิการได้
ลักษณะพฤติกรรมของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
ครูประจำชั้นสามารถสังเกตลักษณะบางอย่างซึ่งทำให้เห็นถึงความแตกต่างบางประการของนักเรียนในชั้นเรียน ช่วยให้คาดการณ์ได้ว่าเด็กที่พบจะมีความบกพร่อง เพื่อนำไปสู่การส่งต่อเพื่อวินิจฉัยอย่างเป็นมาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญต่อไป สำนักพัฒนาการฝึกหัดครู (2544 : 48-49) ได้เสนอข้อสังเกตลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ไว้ดังนี้
1. ไม่ตอบสนองเมื่อเรียก
2. มักตะแคงหูฟัง
3. ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
4. พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ
5. พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
6. พูดมีเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
7. พูดด้วยเสียงต่ำ หรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
8. เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
9. รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
10. ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงพูด เสียงดนตรี หรือมีบ้างเป็นบางครั้ง
11. ไม่ชอบร้องเพลง ไม่ชอบฟังนิทาน แต่แสดงการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอต่อเสียงดังในระดับที่เด็กได้ยิน
12. มักทำหน้าเด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
13. ไม่พูดเมื่อมีสิ่งเร้าจากสภาพแวดล้อม
14. ซนไม่มีสมาธิ
15. ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้
16. มีความลำบากในการอ่านหนังสือ
17. ไม่ตอบคำถาม
18. อาจมีปัญหาทางอารมณ์และสังคม
2.3 บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 คนตาบอด หมายถึง คนที่สูญเสียการเห็นมากจนต้องสอนให้อ่านอักษรเบรลล์หรือใช้วิธีการฟังเทปหรือแผ่นเสียง หากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ 6 ส่วน 60 หรือ 20 ส่วน 200 (20/200) ลงมาจนถึงบอดสนิท (หมายถึง คนตาบอดสามารถมองเห็นวัตถุได้ในระยะห่างน้อยกว่า 6 เมตร หรือ 20 ฟุต ในขณะที่คนปกติสามารถมองเห็นวัตถุเดียวกันได้ในระยะ 60 เมตร หรือ 200 ฟุต) หรือมีลานสายตามแคบกว่า 20 องศา (หมายถึง สามารถมองเห็นได้กว้างน้อยกว่า 20 องศา)
1.2 คนเห็นเลือนลาง หมายถึง คนที่สูญเสียการเห็นแต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์ที่ขยายใหญ่ได้ หรือต้องใช้แว่นขยายอ่าน หากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับระหว่าง 6 ส่วน 18 (6/18) หรือ 20 ส่วน 70 (20/70) ถึง 6 ส่วน 60 (6/60) หรือ 20 ส่วน 200 (20/200) หรือมีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการเห็น
บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองนำเด็กมาเข้าเรียนในโรงเรียน โดยไม่ได้สังเกตถึงความบกพร่อง หรือความพิการบางประการของเด็ก จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องสังเกต เด็กในชั้นเรียนของตนเพื่อการส่งต่อวินิจฉัยและการจัดบริการการศึกษาที่สนองต่อความต้องการพิเศษของเด็ก ครูประจำชั้นสามารถสังเกตลักษณะพฤติกรรมบางอย่างที่เด็กบกพร่องทางการเห็นแสดงออกในชั้นเรียน ได้ดังนี้ (พิมพ์พรรณ์ วรชุตินธร. 2545 : 92)
1. เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
2. ไม่สนใจในสิ่งที่ต้องใช้สายตา เช่น การเล่นซ่อนหา
3. มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
4. มักบ่นปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา มองเห็นเลือนลาง
5. ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
6. ขาดความสนใจ เหม่อลอย
7. เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่งเมื่อใช้สายตา
8. ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
9. ลำบากในเรื่องการใช้บันได ใส่กระดุม ผูกเชือกรองเท้า อ่านและเขียนหนังสือ
10. มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต
11. กรอกนัยน์ตาไปมาเวลาเหนื่อย
12. ดวงตาไวต่อแสงเกินไป
13. เป็นฝีหรือกุ้งยิ่งบ่อย ๆ หรือตาเหร่เป็นครั้งคราว
14. ขาดความสนใจในชั่วโมงอ่านไทย
15. เขียนหนังสือไม่ตรงบันทัด
16. ขนาดลูกตาดำสองข้างไม่เท่ากัน
17. มักขยี้ตาบ่อย ๆ
18. มีความยากลำบากในการเอื้อมมือจับสิ่งของ
19. ตาทั้งสองข้างทำงานไม่ประสานกันขณะอ่านหนังสือ
20. สับสนระหว่างพยัญชนะต่าง ๆ เช่น ค กับ ฅ ด กับ ต ช กับ ซ ฎ กับ ฏ เป็นต้น
21. เวลาอ่านหนังสือทำการฝีมือ มักปวดหัว เวียนศีรษะคลื่นไส้ หรือบ่นว่าคันและเคืองตาเสมอ
สาเหตุของความบกพร่องทางสายตา
การเกิดความบกพร่องทางสายตา จนถึงตาบอด อาจมีสาเหตุใหญ่ ๆ 2 ประการ คือ (วารี ถิระจิตร. 2537 : 25)
1. ความผิดปกติของดวงตา เกิดจากความเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อตา เป็นเหตุให้เกิดสายตาสั้น สายตายาว หรือเกิดมีปัญหาจากการปรับภาพที่เลนส์ในดวงตา เป็นต้น ความ ผิดปกติอาจเกิดจากอุบัติเหตุ การไม่ได้ถนอมสายตาหรืออาจเกิดจากกรรมพันธุ์
2. ความผิดปกติของสายตา เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ จากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อดวงตา จากฤทธิ์ยาบางประเภท ตลอดจนการใช้ยาผิด โรคบางอย่างที่ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น เนื้องอกที่ดวงตา โรคภัยเหล่านี้มักทำให้ตาบอดหรือมีความบกพร่องทางสายตาอย่างรุนแรง
2.1 เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา
1) เด็กเรียนรู้ช้า
- สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
- เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าปกติ
- ขาดทักษะในการเรียนรู้
- มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
- มีระดับสติปัญญา(IQ) ต่ำกว่า 71-90
สาเหตุ
- ปัจจัยภายนอก
- สภาพแวดล้อม
- เศรษฐกิจ
- การเสริมวร้างประสบการ์ให้แก่เด็ก
- การเช้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
- วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
- ปัจจัยภายใน
- โครโมโซม
- พัฒนาการช้า
- การเจ็บป่วย
2) เด็กปัญญาอ่อน
- เด็กที่มีภาวะหยุดชะงัก
- แสดงลักษณะเฉพาะ คือ สติปัญญาต่ำ
- มีความสามารถทางการเรียนรู้น้อย
- มีความจำกัดทางด้านทักษะ
- มีพัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
เด็กปัญญาอ่ออน แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. สติปัญญา (IQ) ต่ำกว่า 20 ปัญญาอ่อนหนักมาก และต้องได้รับการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น เรียกว่า Custodial Mental Retardetion (C.M.R.)
2. สติปัญญา (IQ) 20-34 ปัญญาอ่อนหนัก ไม่สามารถเรียนได้ ต้องได้รับการฝึกหัดช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เรียกว่า Custodial Mental Retardetion (C.M.R.)
3. สติปัญญา (IQ) 35-49 ปัญญาอ่อนปานกลาง สามารถฝึกอบรมและทักษะเบื้องต้นง่ายๆได้ สามารถฝึกอาชีพได้ เรียกว่า Trainable Mental Retardetion (T.M.R.)
4. สติปัญญา (IQ) 50-70 ปัญญาอ่อนน้อย สามารถเรียนระดับประถมได้ เรียกว่า Educationable Mental Retardetion (E.M.R.)
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
- ไม่พูด/พูดไม่สมวัย
- ทำงานช้า
- ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
- ความคิดและอารมณืเปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
- รุนแรงไม่มีเหตุผล
- อวัยวะบางส่วนมีลักษณะผืดปกติ
- ช่วยเหลือตนเองได้น้อยกว่าเด็กปกติ
2.2 บุคคลที่ความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง บุคคลคนที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับรุนแรงจนถึงระดับน้อย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1 คนหูหนวก หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟังก็ตาม โดยทั่วไปหากตรวจการได้ยินจะสูญเสียการได้ยินประมาณ 90 เดซิเบลขึ้นไป (เดซิเบล เป็นหน่วยวัดความดังของเสียง หมายถึง เมื่อเปรียบเทียบระดับเริ่มได้ยินเสียงของเด็กปกติ เมื่อเสียงดังไม่เกิน 25 เดซิเบล คนหูหนวกจะเริ่มได้ยินเสียงดังมากกว่า 90 เดซิเบล)
2 คนหูตึง หมายถึง คนที่มีการได้ยินเหลืออยู่พอเพียงที่จะรับข้อมูลผ่านทางการ ได้ยิน โดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟัง และหากตรวจการได้ยินจะพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า 90 เดซิเบล ลงมาจนถึง 26 เดซิเบล คือ เมื่อเปรียบเทียบระดับเริ่มได้ยินเสียงของเด็กปกติ เมื่อเสียงดังไม่เกิน 25 เดซิเบล เด็กหูตึงจะเริ่มได้ยินเสียงที่ดังมากกว่า 26 เดซิเบลขึ้นไปจนถึง 90 เดซิเบล อาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ดังนี้ 1 ตึงเล็กน้อย (26-40 เดซิเบล
2 ตึงปานกลาง (41-55 เดซิเบล)
3 ตึงมาก (56-70 เดซิเบล)
4 ตึงรุนแรง (71-90 เดซิเบล)
สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยิน
ความบกพร่องทางการได้ยินอาจเนื่องมากจากหลายสาเหตุ ที่สำคัญไดแก่ (วารี ถิระจิตร. 2537 : 45)
1. หูหนวกก่อนคลอด (Congenital Deafness) หมายถึงทารกที่จะเกิดมานั้นมีความพิการของอวัยวะรับเสียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เมื่อคลอดออกมาแล้วก็ปรากฏอาการหูหนวกแต่แรกเกิดทีเดียว ซึ่งอาจมีสาเหตุ 2 ประการ คือ
1.1 หูหนวกตามกรรมพันธุ์ (Hereditary Deafness) เป็นอาการหูหนวกของทารกที่มีความพิการสืบพันธุ์จากบิดาหรือมารดา หรือบรรพบุรุษ เช่น พ่อแม่หูหนวก ลูกอาจหูหนวกหรือหลานอาจหูหนวก
1.2. หูหนวกที่ไม่ใช่กรรมพันธุ์ (Sporadic Deafness) มีหลายสาเหตุ คือ
1.2.1 หูหนวกระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ขณะมารดาตั้งครรภ์ บังเอิญหกล้ม ถูกกระทบกระแทกอย่างแรง ทารกที่อยู่ในครรภ์และกำลังเจริญเติบโต อาจถูกบีบ ถูกกด หรือถูกกระแทก หรือเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่สะดวก ทำให้อวัยวะรับการได้ยินพิการได้ เมื่อทารกคลอดออกมาก็มีอาการหูหนวกแต่กำเนิดติดออกมาด้วย
1.2.2 หูหนวกจากการคลอด คือศีรษะถูกบีบขณะคลอด เนื่องจากกระดูกเชิงกรานเล็ก หรือคีมจับศีรษะทารกไม่ถูกที่ เป็นต้น
1.2.3 หูหนวกจากการเติบโตของอวัยวะหูผิดปกติ ทารกที่เกิดมาอาจไม่มีใบหู ไม่มีรูหู มีรูหูข้างเดียว เมื่อมีความพิการเกิดขึ้นกับอวัยวะหูส่วนหนึ่งส่วนใด ทำให้หูหนวกได้เหมือนกัน
1.2.4 หูหนวกจากพิษยาต่อมารดาขณะตั้งครรภ์ ระหว่างที่มารดาตั้งครรภ์อาจเจ็บป่วย และจำเป็นต้องใช้ยางบางอย่างรักษา ยานั้นอาจเป็นพิษต่ออวัยวะหูของทารกในครรภ์ได้ เช่น ยาควินิน ยาแอสไพริน ยาสเตร็ปโตมัยซิน และยาเพนนิซิลิน เป็นต้น หญิงมีครรภ์ควรระมัดระวังในการใช้ยาให้มากที่สุด เพราะยาสามารถซึมผ่านรก ไปยังทารกในครรภ์ได้โดยง่าย อนตรายที่ร้ายแรงมากในหญิงมีครรภ์ การรับประทานยาที่มีผลทำให้ทารกในครรภ์พิการ โดยเฉพาะระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และใกล้คลอด
1.2.5 หูหนวกจากโรคติดต่อขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน ทารกที่ได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้จากมารดาขณะที่อยู่ในครรภ์ ใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจมีผลทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายในหลายระบบ ได้แก่ ความผิดปกติที่หัวใจ เกิดต้อกระจกโดยกำเนิด ร่างกาย และศีรษะของทารกเล็กกว่าปกติ สมองไม่เจริญเติบโต ทำให้หูหนวกได้
2. หูหนวกหลังคลอด (Acquired Deafness) หมายถึงทารกที่เกิด มีอวัยวะและประสาทหูปกติ แต่ต่อมาภายหลังปรากฏว่าหูหนวกขึ้น เราเรียกหูหนวกหลังคลอด โอกาสที่จะทำให้หูหนวกจึงมีมากมายหลายอย่าง สามารถแยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้คือ
2.1 หูหนวกจากโรคระบบประสาท เช่น ป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
2.2 หูหนวกจากโรคติดต่อ เช่น ภายหลังจากการป่วยด้วยโรคหัด ไข้หวัดใหญ่ คางทูม หัดเยอรมัน อาจมีอาการหูหนวกได้
2.3 หูหนวกร่วมกับโรคต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมพิตูอิตารี่ ทำให้มีอาการหูหนวกร่วมด้วย
2.4 หูหนวกจากพิษยาและสารเคมี เมื่อผู้ป่วยไดรับยาที่เป็นพิษต่ออวัยวะหูส่วนใน และประสาทหู เช่น ควินิน ยาสเตร็บโตมัยซิน และยาคานามัยซิน เป็นต้น
2.5 หูหนวกจากโรคหู คอ จมูก อวัยวะของหู คอ จมูก ติดต่อถึงกัน และอยู่ใกล้เคียงกันมาก เมื่ออวัยวะดังกล่าวเกิดโรค มักกระทบกระเทือนถึงกันและกัน จะทำให้หูหนวกได้
2.6 หูหนวกจากภยันอันตราย ต่ออวัยวะหู และประสาทหู เช่น การตกเปล ตกบันได ตกจากที่สูง นอกจากศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนแล้วกระดูกขมับแตกร้าว หรือถูกตบที่หูอย่างรุนแรง ทำให้หูหนวกได้ นอกจากนั้นเสียงดังต่าง ๆ เช่น เสียงฟ้าผ่า เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงเครื่องบิน เครื่องยนต์ เครื่องจักรในโรงงาน ถ้าหากได้รับการรบกวนอยู่เสมอ และเป็นเวลานาน จะทำให้หูพิการได้
ลักษณะพฤติกรรมของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
ครูประจำชั้นสามารถสังเกตลักษณะบางอย่างซึ่งทำให้เห็นถึงความแตกต่างบางประการของนักเรียนในชั้นเรียน ช่วยให้คาดการณ์ได้ว่าเด็กที่พบจะมีความบกพร่อง เพื่อนำไปสู่การส่งต่อเพื่อวินิจฉัยอย่างเป็นมาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญต่อไป สำนักพัฒนาการฝึกหัดครู (2544 : 48-49) ได้เสนอข้อสังเกตลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ไว้ดังนี้
1. ไม่ตอบสนองเมื่อเรียก
2. มักตะแคงหูฟัง
3. ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
4. พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ
5. พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
6. พูดมีเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
7. พูดด้วยเสียงต่ำ หรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
8. เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
9. รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
10. ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงพูด เสียงดนตรี หรือมีบ้างเป็นบางครั้ง
11. ไม่ชอบร้องเพลง ไม่ชอบฟังนิทาน แต่แสดงการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอต่อเสียงดังในระดับที่เด็กได้ยิน
12. มักทำหน้าเด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
13. ไม่พูดเมื่อมีสิ่งเร้าจากสภาพแวดล้อม
14. ซนไม่มีสมาธิ
15. ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้
16. มีความลำบากในการอ่านหนังสือ
17. ไม่ตอบคำถาม
18. อาจมีปัญหาทางอารมณ์และสังคม
2.3 บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 คนตาบอด หมายถึง คนที่สูญเสียการเห็นมากจนต้องสอนให้อ่านอักษรเบรลล์หรือใช้วิธีการฟังเทปหรือแผ่นเสียง หากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ 6 ส่วน 60 หรือ 20 ส่วน 200 (20/200) ลงมาจนถึงบอดสนิท (หมายถึง คนตาบอดสามารถมองเห็นวัตถุได้ในระยะห่างน้อยกว่า 6 เมตร หรือ 20 ฟุต ในขณะที่คนปกติสามารถมองเห็นวัตถุเดียวกันได้ในระยะ 60 เมตร หรือ 200 ฟุต) หรือมีลานสายตามแคบกว่า 20 องศา (หมายถึง สามารถมองเห็นได้กว้างน้อยกว่า 20 องศา)
1.2 คนเห็นเลือนลาง หมายถึง คนที่สูญเสียการเห็นแต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์ที่ขยายใหญ่ได้ หรือต้องใช้แว่นขยายอ่าน หากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับระหว่าง 6 ส่วน 18 (6/18) หรือ 20 ส่วน 70 (20/70) ถึง 6 ส่วน 60 (6/60) หรือ 20 ส่วน 200 (20/200) หรือมีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการเห็น
บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองนำเด็กมาเข้าเรียนในโรงเรียน โดยไม่ได้สังเกตถึงความบกพร่อง หรือความพิการบางประการของเด็ก จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องสังเกต เด็กในชั้นเรียนของตนเพื่อการส่งต่อวินิจฉัยและการจัดบริการการศึกษาที่สนองต่อความต้องการพิเศษของเด็ก ครูประจำชั้นสามารถสังเกตลักษณะพฤติกรรมบางอย่างที่เด็กบกพร่องทางการเห็นแสดงออกในชั้นเรียน ได้ดังนี้ (พิมพ์พรรณ์ วรชุตินธร. 2545 : 92)
1. เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
2. ไม่สนใจในสิ่งที่ต้องใช้สายตา เช่น การเล่นซ่อนหา
3. มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
4. มักบ่นปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา มองเห็นเลือนลาง
5. ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
6. ขาดความสนใจ เหม่อลอย
7. เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่งเมื่อใช้สายตา
8. ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
9. ลำบากในเรื่องการใช้บันได ใส่กระดุม ผูกเชือกรองเท้า อ่านและเขียนหนังสือ
10. มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต
11. กรอกนัยน์ตาไปมาเวลาเหนื่อย
12. ดวงตาไวต่อแสงเกินไป
13. เป็นฝีหรือกุ้งยิ่งบ่อย ๆ หรือตาเหร่เป็นครั้งคราว
14. ขาดความสนใจในชั่วโมงอ่านไทย
15. เขียนหนังสือไม่ตรงบันทัด
16. ขนาดลูกตาดำสองข้างไม่เท่ากัน
17. มักขยี้ตาบ่อย ๆ
18. มีความยากลำบากในการเอื้อมมือจับสิ่งของ
19. ตาทั้งสองข้างทำงานไม่ประสานกันขณะอ่านหนังสือ
20. สับสนระหว่างพยัญชนะต่าง ๆ เช่น ค กับ ฅ ด กับ ต ช กับ ซ ฎ กับ ฏ เป็นต้น
21. เวลาอ่านหนังสือทำการฝีมือ มักปวดหัว เวียนศีรษะคลื่นไส้ หรือบ่นว่าคันและเคืองตาเสมอ
สาเหตุของความบกพร่องทางสายตา
การเกิดความบกพร่องทางสายตา จนถึงตาบอด อาจมีสาเหตุใหญ่ ๆ 2 ประการ คือ (วารี ถิระจิตร. 2537 : 25)
1. ความผิดปกติของดวงตา เกิดจากความเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อตา เป็นเหตุให้เกิดสายตาสั้น สายตายาว หรือเกิดมีปัญหาจากการปรับภาพที่เลนส์ในดวงตา เป็นต้น ความ ผิดปกติอาจเกิดจากอุบัติเหตุ การไม่ได้ถนอมสายตาหรืออาจเกิดจากกรรมพันธุ์
2. ความผิดปกติของสายตา เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ จากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อดวงตา จากฤทธิ์ยาบางประเภท ตลอดจนการใช้ยาผิด โรคบางอย่างที่ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น เนื้องอกที่ดวงตา โรคภัยเหล่านี้มักทำให้ตาบอดหรือมีความบกพร่องทางสายตาอย่างรุนแรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น